วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 4 องค์การแห่งการเรียนรู้


องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์การแห่งการเรียนรู้:คือองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยการพัฒนาความสามารถและศักยภาพของคนในองค์การทั้งในด้านความรู้ทักษะและเจตคติอย่างต่อเนื่องและบริหารจัดการความสามารถและศักยภาพนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

 องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 ประการ

  1.การคิดเชิงระบบ(Systems Thinking)

  2.ความเป็นเลิศส่วนบุคคล(Personal Mastery)

  3.รูปแบบความคิด(Mental Models)

  4.วิสัยทัศน์ร่วม(Shared Vision)

  5.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม(Team Learning)

 1.1การคิดเชิงระบบ(Systems Thinking) การคิดเชิงระบบให้แนวทางใหม่ทั้งหมดในการช่วยให้เข้าใจโครงสร้างที่ซับซ้อนของเหตุและผล เป็นแนวทางที่ทำให้คิดถึงสิ่งต่างๆและเหตุการณ์ต่างๆเชื่อมโยงต่อกันระบบกลุ่มของส่วนประกอบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและพึ่งพาระหว่างกันสร้างองค์ประกอบโดยมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง

ประเด็นพื้นฐานของระบบ
      1.1.1 ระบบมีจุดประสงค์
                1.1.2.ส่วนต่างๆมารวมกันโดยมีวิธีการเฉพาะอย่างหนึ่งเพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปตามจุดประสงค์ที่กำหนด
                1.1.3 ระบบตอบสนองตามจุดประสงค์เฉพาะภายใต้ระบบที่ใหญ่กว่า
                1.1.4 ระบบแสวงหาความมีเสถียรภาพ
                1.1.5 ระบบมีการป้อนกลับ

    1.2 ความเป็นเลิศส่วนบุคคล (Personal Mastery) บุคคลและสมาชิกองค์กรเป็นรากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้เป็นเลิศบุคคลจะขยายความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่องจากกระบวนการเรียนรู้

องค์ประกอบพื้นฐาน

                 1.2.1 วิสัยทัศน์ส่วนบุคคล
                 1.2.2 การจัดการความตึงเครียดอย่างสร้างสรรค์
                 1.2.3 การเรียนรู้ด้วยจิตใต้สำนึก
การเรียนรู้ด้วยจิตใต้สำนึกคือความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองและขยายความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่เขาต้องการได้อย่างต่อเนื่อง


     1.3 รูปแบบความคิด (Mental Models) ความเชื่อภาพลักษณ์และข้อสมมติฐานที่ยึดมั่นอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตัวเรากับโลกและองค์การเป็นสิ่งที่เราปรับตัวอย่างเหมาะสมกับสิ่งเหล่านี้

หลักการเกี่ยวกับรูปแบบความคิด

              1.3.1 รูปแบบความคิด
              1.3.2 รูปแบบความคิดกำหนดสิ่งที่เราเห็น
              1.3.3 รูปแบบความคิดนำทางถึงวิถีทางที่เราคิดและปฏิบัติ
              1.3.4 รูปแบบความคิดทำให้ยึดถือการอนุมานของเราเป็นข้อเท็จจริง
              1.3.5 รูปแบบความคิดจะไม่สมบูรณ์
         1.3.6 รูปแบบความคิดที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่ได้รับและส่งผลกลับในการเสริมแรงให้กับความคิดเอง
              1.3.7 รูปแบบความคิดมักจะดำรงอยู่อย่างยาวนานกว่าประโยชน์ของมัน

    1.4 วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) การสร้างความมุ่งมั่นเพื่อดลใจให้ไปถึงวิสัยทัศน์ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันมีองค์ประกอบพื้นฐานคือ

            1.4.1 กระตุ้นให้แต่ละคนมีวิสัยทัศน์
            1.4.2 พัฒนาวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลให้เป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันขององค์การ
            1.4.3 สร้างทัศนคติต่อวิสัยทัศน์ในระดับผูกพัน
            1.4.4 ทำให้วิสัยทัศน์ส่วนรวมเป็นทิศทางสู่จุดมุ่งหมาย
           
   1.5  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) มี 3 มิติ

           1.5.1 การสนทนาและการอภิปราย
           1.5.2 การเรียนรู้สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน
           1.5.3 การเรียนรู้วิธีปฏิบัติ

ขั้นตอนการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

    1.การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมให้เกิดในหน่วยงาน
    2.การสร้างความเป็นเลิศส่วนบุคคลในหน่วยงาน
    3.การพัฒนาโลกทัศน์ของบุคลากรให้เป็นโลกทัศน์ที่เหมาะสม
    4.การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เป็นทีม
    5. การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ
ผู้นำในองค์กรเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งที่ต้องสร้างบรรยากาศและส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร ทำตนเป็นแบบอย่างใฝ่รู้ใฝ่เรียน ชักจูงดลใจให้เพื่อนร่วมงานพัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้เหมาะสม เรียนรู้ร่วมกันคิดให้เป็นระบบผู้นำในองค์การ  3 ระดับคือ

      - ผู้นำในระดับจัดการ
      ผู้นำระดับหัวหน้า
      - ผู้นำสร้างเครือข่าย
ผู้นำองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องมีบทบาท 3 สภาวะ
       1.บทบาทนักออกแบบ (designer) กำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ วางโครงสร้างองค์การตามรูปแบบกลยุทธ์
              2.บทบาทของครูผู้สอน (teacher) สอนให้เข้าใจระบบสอนงาน
             3.บทบาทผู้ช่วยเหลือสนับสนุน (steward) สนับสนุนส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวก สร้างสิ่งแวดล้อม
การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

    1.ยึดอนาคตเป็นหมุดหลัก
    2.คนในองค์การแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
    3.มีการติดต่อระหว่างองค์การ
    4.มีการพัฒนาบุคลากร
    5. มีการให้รางวัลการเรียนรู้
    6 .ให้คุณค่าแก่คน กระตุ้นให้คนมีความคิดเห็น
    7.มีบรรยากาศเปิดเผยและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
  
กระบวนการบริหารในองค์การแห่งการเรียนรู้

   1.วางฉากอนาคตและยุทธศาสตร์
   2.วิเคราะห์คู่แข่ง
   3.วางแผนขีดความสามารถ
   4.พัฒนาทีมและพัฒนาองค์การ
   5.จัดระบบรางวัลที่ท้าทายและคำชมเชย
เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในองค์การแห่งการเรียนรู้

     - การสัมภาษณ์,พูดคุย,แสวงหาข้อมูล
     - ความคิดสร้างสรรค์,ระดมสมอง,นำความคิดมาเชื่อมต่อ
     - รู้สึกถึงสถานการณ์,จัดระเบียบข่าวสาร,ข้อมูล,ความคิด
     - ทำการเลือก,ตัดสินการปฏิบัติการ
     - สังเกตผลลัพธ์,บันทึก,สังเกตการณ์
     - วางกรอบความรู้ใหม่,ฝังความรู้ใหม่,เข้าใจรูปแบบจิตใจ,ความทรงจำ
องค์การแห่งการเรียนรู้จำเป็นต้อง

     - รู้วิธีการกระจายอำนาจให้เป็นระเบียบ การมอบสิทธิอำนาจ
     - การเข้าใจอย่างเป็นระบบ
     - ใช้การนำไม่ใช่การสั่งการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 6 การใช้งานโปรแกรม Joomla

การใช้งานโปรแกรม Joomla joomla  เป็นระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (content management system: cms) ที่ช่วยให้การ พัฒนาเว็บไซต์เป็...