วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บทที่ 1

ความหมายของความรู้ของนักวิชาการ



(Daveport&Prusk. 1997.8)
 กล่าวว่า ความรู้หมายถึง กรอบของการประสมประสานระหว่างประสบการณ์  ค่านิยม  ความรอบรู้ในบริบท  และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง  เป็นการประสมประสานทีให้กรอบสำหรับการประเมินค่า  และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ๆ  มาผสมรวมเข้าด้วยกัน มันเกิดขึ้นและถูกนำไปใช้ประยุกต์ในใจของคนที่รู้  สำหรับในแง่องค์กรนั้น ความรู้มักจะสั่งสมอยู่ในรูปของเอกสาร  หรือแฟ้มเก็บเอกสารต่างๆ  รวมไปถึงขั้นสั่งสมอยู่ในการทำงาน  อยู่ในกระบวนการ  อยู่ในการปฏิบัติงาน  และอยู่ในบรรทัดฐานขององค์กรนั้นเอง


ฮิเดโอะ ยามาซากิ (Hedeo Yamazak) (อ้างใน วรภัทธ์ ภู่เจริญ, 2548 : 138) 
ได้แสดงว่ามิติความรู้ โดยเริ่มจากฐานล่าง คือ ข้อมูล สังเคราะห์จนได้สารสนเทศคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงจนได้ ความรู้ นำไปใช้จนแก่งกลายเป็น ปัญญา



Ikujiro Nonaka (1994 : 14-37 อ้างถึงในธเนศ  เกสรสิริธร  2555 : 8)  
นักจัดการความรู้ได้จำแนกความรู้ออกเป็น  2  ประเภท  และให้คำจำกัดความไว้เบื้องต้นที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรม  ซึ่งนักการจัดการความรู้ใหม่ๆ  จะต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งเพราะจะเป็นพื้นฐานในการจัดการความรู้  คือ
1.  Explicit Knowledge  เป็นความรู้ที่ปรากฏและมองเห็นได้ชัดเจน  สามารถจัดทำออกมาในรูปแบบของเอกสาร  คู่มือหรือสื่อต่างๆ  และสามารถถ่ายทอดหรือรวบรวมได้ง่าย  เช่น  เอกสาร  หนังสือ  วีซีดี  เทป  ฐานข้อมูล  เรียกว่ารูปแบบรูปธรรม
2.  Tacit  Knowledge  เป็นความรู้ที่ไม่ปรากฏชัดแจ้ง  ถูกฝังลึกและซ่อนเร้นอยู่ในตัวบุคคล  โดย  Tacit  Knowledge  อาจเกิดจากประสบการณ์  การเรียนรู้หรือพรสวรรค์  (Talent)  การถ่ายทอดหรือสื่อสารในรูปแบบของตัวเลขหรือตัวอักษรอาจทำได้ยาก


วิจารณ์พานิช  (2546: 2-5)  
ให้ความหมายว่าการจัดการความรู้  หมายถึง  การยกระดับความรู้ขององค์กร  เพื่อสร้างผลประโยชน์จากต้นทุนทางปัญญา  โดยเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและกว้างขวาง  ไม่สามารถให้นิยามด้วยถ้อยคำสั้นๆ  ได้ต้องให้นิยามหลายข้อจึงจะครอบคลุมความหมายดังนี้

การจัดการความรู้  มีความหมายถึง การรวบรวม การจัดระบบ การจัดเก็บ และการเข้าถึงข้อมูล  เพื่อสร้างเป็นความรู้เทคโนโลยีด้านข้อมูลและด้านคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มพลังในการจัดการความรู้  แต่เทคโนโลยีด้านข้อมูลและคอมพิวเตอร์โดยตัวของมันเองไม่ใช่การจัดการความรู้
การจัดการความรู้เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนความรู้  ถ้าไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้  แล้วความพยายามในการจัดการความรู้ก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ  พฤติกรรมภายในองค์กรเกี่ยวกับวัฒนธรรม พลวัตและวิธีปฏิบัติมีผลต่อการแลกเปลี่ยนความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมและสังคมมีความสำคัญต่อการจัดการความรู้อย่างยิ่ง
การจัดการความรู้ต้องอาศัยผู้รู้ในการตีความและประยุกต์ใช้ความรู้  ในการสร้างนวัตกรรมและเป็นผู้นำทางในองค์กรรวมทั้งต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งแนะนำวิธีประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ ดังนั้นกิจกรรมเกี่ยวกับการดึงดูดคนดีและเก่งการพัฒนาคน การติดตามความก้าวหน้าของคน และดึงดูดคนมีความรู้ไว้ในองค์กร ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้เป็นเรื่องของการเพิ่มประสิทธิผลขององค์กรการจัดการความรู้เกิดขึ้นเพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาและความสำเร็จให้องค์กรประเมินต้นทุนทางปัญญา และผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้เป็นดัชนีบอกว่าองค์กรมีการจัดการความรู้อย่างได้ผลหรือไม่


Peter Senge (1990)  
เชื่อว่า หัวใจของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ที่การเสริมสร้าง  วินัย 5 ประการ ให้เกิดผลจริงจังในรูปของการนำไปปฏิบัติ แก่บุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่องและทุกระดับ โดย Sengeได้ให้คำนิยามของ ”องค์การแห่งการเรียนรู้”  ว่า เป็นองค์การที่ผู้คนต่างขยายขีดความสามารถเพื่อสร้างผลงานที่ต้องการสร้างอนาคตคำว่า “วินัย (Disciplines)”   หมายถึง เทคนิควิธีที่ต้องศึกษาใคร่ครวญอยู่เสมอแล้วนำมาปฏิบัติ เป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อการแสวงหาการเสริมสร้างทักษะ หรือสมรรถนะ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถผ่านการปฏิบัติ  เพื่อความคิดสร้างสรรค์เพื่อสิ่งใหม่ ๆ    วินัย 5 ประการ ประกอบด้วยวินัยประการที่ 1:  ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)วินัยประการที่ 2:  แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models) วินัยประการที่ 3:  วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)วินัยประการที่ 4:  การเรียนรู้ของทีม (Team Learning)วินัยประการที่ 5:  การคิดอย่างเป็นระบบ(Systematic Thinking)

นพ ประเวช วะสี
ท่านได้นำเสนอแนวคิดว่าความรู้ที่จำเป็นมี 4ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่าปัญญา 4 หรือ จตุรปัญญา คือ ความรู้ธรรมชาติที่ เป็นวัตถุ(วิทยาศาสตร์กายภาพ)ความรู้ทางสังคม(วิทยาศาสตร์สังคม)ความรู้ทางศาสนา(วิทยาศาสตร์ข้างใน) และความรู้เรื่องการจัดการซึ่งปัญญาที่เกิดจากความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่ง

ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด.  (2549)
การจัดการความรู้โดยใช้ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL)
โมเดลปลาประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหางส่วนหัวปลา เรียกว่า KV ย่อมาจาก Knowledge Vision หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้ กล่าวคือ ส่วนหัวจะทำหน้าที่มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"ส่วนตัวปลา เรียกว่า KS ย่อมาจาก Knowledge Sharing หมายถึงส่วนที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM เพราะต้องเกิดจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันส่วนหางปลา เรียกว่า KA ย่อมาจาก Knoeledge Assets หมายถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้"



Peter  Drucker ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ (Peter F Drucker, 1909-2005) 

เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ดรักเกอร์มีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมาก จากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆ ที่การนำเสนอแนวคิดการบริหารธุรกิจ จะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผน แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือ ความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติทฤษฎีการบริหารจัดการของ ประกอบด้วย

1. การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดหน้าที่การงานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยกำหนดว่าจะดำเนินการอย่างไรและดำเนินการเมื่อไร เพื่อให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ การวางแผนต้องครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

2. การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรในแผนกหรือฝ่ายได้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ เมื่อแผนกหรือฝ่ายประสบความสำเร็จก็จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จไปด้วย

3. การนำ (Leading) เป็นการจูงใจ การชักนำ การกระตุ้นและชี้ทิศทางให้ดำเนินไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยการเพิ่มผลผลิตและเน้นมนุษยสัมพันธ์ทำเกิดระดับผลผลิตในระยะยาวที่สูงกว่าภาวะงาน เพราะคนมักไม่ค่อยชอบภาวะงาน

4. การควบคุม (Controlling) เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะต้อง รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลดำเนินงานเปรียบเทียบผลงานปัจจุบันกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้  ทำการตัดสินใจไปตามเกณฑ์หรือไม่ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 6 การใช้งานโปรแกรม Joomla

การใช้งานโปรแกรม Joomla joomla  เป็นระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (content management system: cms) ที่ช่วยให้การ พัฒนาเว็บไซต์เป็...