วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 2 แนวคิดการจัดการความรู้

แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)





แนวคิดการจัดการความรู้

แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ได้เริ่มต้นนและเป็นที่นิยมอย่างสูง ในช่วงปีค.ศ. 1995 -1996  หลังจากที่   Kujiro Nonaka และ   Hirotaka Takeuchi ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า “The Knowledge Creating company” ออกมาเผยแพร่ ซึ่งทั้งสองท่านได้เสนอแนวคิดที่เน้นเรื่องการสร้างและกระจายความรู้ใน องค์การ ระหว่างความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน/ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) กับความรู้ที่อยู่ในรูปแบบสื่อ/เอกสาร /ความรู่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยใช้โมเดล SECEI –Knowledge Conversion ในการอธิบาย







โมเดลเซกิ (SECI MODEL)


แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน 





  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit 

กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น 
การเป็นนักท่องเที่ยวที่ออกเดินทางไปในทุกๆที่เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์จาการพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ด้านภาษา กฏเกณฑ์การใช้ชีวิตในแต่ละสังคมนั้นๆ เพื่อให้ทราบถึง วิถีชีวิตในการดำรงชีพเพื่ออยู่รอด รวมกระทั่ง ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆในพื้นที่เหล่านั้น


 2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit 

กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก  เช่น 
การตีแผ่ความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ที่มีอยู่มาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการแปลงความรู้โดยนัย เป็นความรู้แบบชี้แจ้ง เช่น นักท่องเที่ยวหลังจากที่ได้ออกเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่แตกต่างและหลากหลายความคิดแล้ว ตามที่ได้กล้าวไว้ข้างต้น จึงได้นำความหลากหลายที่พบเจอมา มาเผยแพร่สู่ผู้คนโดยการตีแผ่ความรู้ที่ได้รับมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้ที่ได้อ่านนั้นรับรู้ถึงเรื่องราวความแปลกใหม่และแตกต่างที่ได้พบเจอซึ่งกลุ่มคนบางกลุ่มอาจจะยังไม่เคยได้รับรู้ถึงความรู้สึกเหล้านี้ กระทั่งตีแผ่แนวทางการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจจะออกเดินทาง

 3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit 

กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน  เช่น  
กรณีนักท่องเที่ยว ซึ่งต่อมาได้มีการศึกษาสื่อข้อมูลเพิ่มเติมจากตำราเล่มต่างๆและจากการท่องอินเตอร์เน็ตและนำข้อมูลเหล่านั้นมาสอดแทรกเนื้อหาในหนังสือที่ได้ตีแผ่ในข้างต้นทำให้หนังสือเล่มนั้นมีข้อมูลที่ชัดแจ้งจากการรวบรวมข้อมูลต่างๆและความรู้จากตัวผู้เขียนเอง

4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit 

กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ 
เช่น นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่สนใจท่องเที่ยวไปยังสถานที่ใหม่ๆที่ยังไม่เคยเดินทางไป ศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยว การเดินทางต่างๆจากข้อมูลของบุคคลที่เคยเดินทางไปหรือเคยพบเจอสถานที่แห่งนั้นแล้วเขียนเป็นตำรา บอกเล่าเรื่องราว รวมถึงประสบการณ์ที่ได้พบเจอ ทำให้ได้ข้อมูลแล้วนำมาประยุกต์เข้ากับการเดินทางในปัจจุบัน เกิดการรวมกลุ่ม การสัมมนากัน เพื่อหาเพื่อนร่วมทีมในการเดินทางไปยังสถานที่ที่สนใจเหล่านั้นโดยหมุนเวียนไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 6 การใช้งานโปรแกรม Joomla

การใช้งานโปรแกรม Joomla joomla  เป็นระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (content management system: cms) ที่ช่วยให้การ พัฒนาเว็บไซต์เป็...